

มุมมองต่างๆต่อการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 20
หางโจว ประเทศจีน
หนังสือพิมพ์ People’s Daily รายงานว่า การประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มจี 20 ครั้งที่ 11 จะจัดขึ้นที่เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียงของจีน ระหว่างวันที่ 4-5 กันยายนนี้ People’s หนังสือพิมพ์ Daily จึงขอนำเสนอมุมมองจากฝ่ายต่างๆ ที่มีต่อการประชุมสำคัญครั้งนี้
"การบริหารเศรษฐกิจและการเงินโลกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" จะเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญ นักการเมืองและนักวิชาการยุโรปหลายคนเห็นว่า ปีนี้ จีนประสบผลสำเร็จพอสม ควรในการส่งเสริมให้จี 20 ปรับปรุงระบบบริหารการเงินให้สมบูรณ์แบบ หวังว่าการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 หางโจวจะส่งเสริมระบบการเงินโลกต่อไป สร้างคุณูปการเพื่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยเศรษฐกิจบรูเอเจล (Bruegel) คลังสมองชื่อดัง ณ กรุงบรัสเซลส์ออกบทความชี้ให้เห็นว่า จีนมีอิทธิพลมากขึ้นอย่างรวดเร็วและมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในระบบการเงินโลก นาย กันตราม วอลฟ์ (Guntram Wolff) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเศรษฐกิจบรูเอเจลกล่าวว่า ประเด็นเกี่ยวกับการบริหารการเงินของการประชุมกลุ่มจี 20 มีความสำคัญมากต่อยุโรป เนื่องจากตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรไม่ค่อยพัฒนา ธนาคารมีสัดส่วนค่อนข้างมากในระบบการเงินยุโรป และปัจจุบัน ประเทศยุโรปมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตธนาคาร ดังนั้น จึงหวังพึ่งพายารักษาระบบการเงิน
ผู้เชี่ยวชาญยุโรปเห็นว่า ตั้งแต่เกิดวิกฤตการเงินโลกปี 2008 เป้นต้นมา กลุ่มจี 20 กลายเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันการปฏิรูประบบบริหารการเงินโลก ปีนี้ ภายใต้การผลักดันของจีน การประชุมกลุ่มจี 20 ได้เริ่มต้นกระบวนการปฏิรูประบบบริหารการเงินโลก รวมถึงเครือข่ายความมั่นคงด้านการเงินโลก การใช้สิทธิ์ SDR ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และการเงินที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
นายเปียร์เร โมสโควิคิ (Pierre Moscovici) กรรมการด้านกิจการเศรษฐกิจและการเงินสหภาพยุโรปกล่าวว่า การที่ประเทศเศรษฐกิจใหม่ โดยเฉพาะจีนเ ข้าร่วมระบบการเงินโลกนั้น เป็นประโยชน์ต่อยุโรป เพราะจีนทุ่มกำลังเร่งการปฏิรูประบบบริหารเศรษฐกิจและการเงินโลก เพิ่มสิทธิ์ออกเสียงของประเทศเศรษฐกิจใหม่และประเทศกำลังพัฒนา สหภาพยินดีให้จีนแสดงบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก
นายจอห์น เลน นักเศรษฐศาสตร์อังกฤษระบุว่า หวังว่า การประชุมครั้งนี้จะออกนโยบายรับมือกับเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว นายจอห์น เลนเห็นว่า กลุ่มจี 20 ในฐานะเป็นเวทีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลที่สำคัญ ควรเน้นการแก้ปัญหาที่ขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจทั่วโลก ปัจจุบัน หนี้สินทั่วโลกสูงขึ้น 25%-30% เมื่อเทียบกับก่อนหน้าวิกฤตสินเชื่อ และกำลังเผชิญกับปัญหาการพึ่งพานโยบายผ่อนคลายเชิงปริมาณมากเกินไป เพราะนโยบายนี้เริ่มแรกก็เพื่อรับมือกับวิกฤตเศรษฐกิจ แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นภาวะปกติ นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยต่ำทำให้ทั่วโลกตกไปยังขอบเขตอัตราดอกเบี้ยติดลบ เกือบทุกประเทศปรับลดดอกเบี้ย ทำให้ทั่วโลกอยู่ในส
ส่วนนายอี้ เสี่ยวจุ่น รองผู้อำนวยการองค์การการค้าโลกหรือ WTO ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อเร็วๆนี้ว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกซบเซา การค้าระหว่างประเทศขาดจังหวะ หากผู้นำจากประเทศต่างๆ สามารถดำเนินการเจรจาเชิงสร้างสรรค์ ก็อาจสามารถแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการพัฒนาในอนาคตตามข้อตกลงที่ได้บรรลุไว้ในที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าจี 20 นายอี้ เสี่ยวจุ่นกล่าวว่า การที่จีนในฐานะเจ้าภาพ